จุดเริ่มต้นในการสร้างตัวละคร ของ วานิทัส (บันทึกแวมไพร์วานิทัส)

เชอร์ล็อก โฮล์มส์ หนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญที่ช่วยสร้างตัวละครอย่าง "วานิทัส"


หลังจากจบซีรีย์ Pandora Hearts ผู้เขียนอยากวาดซีรีย์แนวรั้วโรงเรียนมัธยมปลายที่มีเรื่องราวความรักโรแมนติกของคู่รักชายหญิงที่มีไดนามิกเป็นโรมิโอกับจูเลียตและเต็มไปด้วยพล็อตเซอร์ไพรส์มากมาย มีนางเอกเป็นแวมไพร์สาวไร้เดียงสา ซึ่งในตอนแรกเธอไม่มีความตั้งใจที่จะเขียนพล็อตซีรีย์วานิทัสแบบที่ที่เห็นในปัจจุบัน แต่หลังจากโมจิซูกิไปเห็นงานศิลปะของวานิทัส และมีโอกาสไปท่องเที่ยวที่ฝรั่งเศส ทำให้เธอเปลี่ยนใจ พบว่าไอเดียมันเจ๋งกว่า และเดิมทีวานิทัสเคยถูกวางดีไซน์เป็นตัวละครแวมไพร์ตนเดียวในซีรีย์ แต่หลังจากสร้าง "โนเอ้" ขึ้นมา โมจิซุกิจึงตัดสินใจเล่าเรื่องวานิทัสผ่านมุมมองตัวละครอื่นโดยใช้โนเอ้เป็นคนเล่าเรื่องเป็นหลัก[1] ในระหว่างที่โมจิซูกิ จุนกำลังเดินท่องเที่ยวมงแซ็ง-มีแชลของฝรั่งเศส เธอคิดและคร่ำครวญกับผู้ช่วยของเธอเรื่องการวาดแวมไพร์ตนหนึ่งที่เฝ้ามองเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งเป็นเวลา 100 ปี ทุกสิ่งทุกอย่างคือไอเดียของซีรีย์ "บันทึกแวมไพร์วานิทัส" และการออกแบบคาแรคเตอร์ของวานิทัส กับ โนเอ้ ที่ถูกเขียนขึ้นมา ซึ่งในผลงานใหม่นั้น โมจิซูกิตั้งใจเพิ่มองค์ประกอบความรักและฉากแอคชั่น แต่หัวหน้ากองบรรณาธิการบอกให้ลดมันลงเพราะเธอไม่ถนัดเขียนแนวนั้น ทำให้เธอตัดใจไปฝึกวาดรูปใหม่ ด้วยการไปเข้าคอร์สเสริมเกี่ยวกับการวาดรูปโดยเฉพาะ เพราะเชื่อว่ามันสามารถเพิ่มแรงดึงดูดใจให้กับผลงานเธอได้มากขึ้น หากเธอฝึกฝนมากขึ้น[2]

ในตอนแรกวานิทัสเป็นแวมไพร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ส่วนโนเอ้เป็นมนุษย์ที่อ้างอิงมาจากวัตสัน แต่บรรณาธิการมองว่าไอเดียที่ให้วานิทัสเป็นมนุษย์มีคาแรคเตอร์เย็นชา แต่ให้โนเอ้เป็นมนุษย์ มันดูล้าสมัยและธรรมดาไม่ต่างจากซีรีย์เรื่องอื่น เธอจึงยอมแพ้และปรึกษากับบรรณาธิการ แล้วได้รับคำแนะนำว่าลองสลับบทบาทของตัวเอกโดยให้วานิทัสเป็นมนุษย์ ส่วนโนเอ้เป็นแวมไพร์ โมจิซูกิเคยถูกเพื่อนร่วมงานวิจารณ์เรื่องการออกแบบทรงผมหน้าของวานิทัส เธอจึงออกแบบผมหน้าสองชั้นให้กับเขา[2] แล้วผู้เขียนยังเรียกเสื้อผ้าประจำตัวของวานิทัสว่า "เสื้อผ้าสุดซับซ้อนที่ไม่มีใครเข้าใจ" เพราะเครื่องประดับหลายชิ้นของเขาอย่างเช่นโบว์ และการลงสีแถบเสื้อกั๊กขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เขียน แม้จะบอกว่าวานิทัสเป็นมนุษย์แต่ก็ทำให้เขามีกรงเล็บแหลมมาจากถุงถือพิเศษที่เจ้าตัวสวมใส่[3] ด้วยความที่วานิทัสกับโนเอ้มีนิสัยขัดแย้งและอุดมการ์ณต่างกันสุดโต่ง โมจิซูกิจึงหลีกเลี่ยงให้พวกเขาเป็นพี่น้องและเพื่อนกันในตอนแรก แต่ให้ความสัมพันธ์ของพวกเขาเป็นเพียงแค่เพื่อนร่วมงาน ในงานเขียนของเธอนั้นไม่มีจุดตายตัวเป็นพิเศษ แต่เธอมักจะฝึกเขียนแต่ละพาเนลในงานของผู้เขียน[2] ส่วนชื่อตัวละครมาจากการที่โมจิซุกิไปเจอหนังสือภาพประกอบโดยบังเอิญ เมื่อตรวจความหมายของคำที่แปลได้ว่า "เสแสร้ง" เธอจึงพบว่ามันคือความหมายของงานศิลปะในแขวงหนึ่งที่มีชื่อว่า วานิทัส ลักษณะของภาพจะเป็นรูปหัวกระโหลก โครงกระดูก อาหารและสัญลักษณ์อื่นๆ สื่อไปในเรื่องของความตายที่ไม่ยั่งยืน ทำให้ผู้เขียนรู้สึกประทับใจและเอามาตั้งชื่อเป็นตัวละครเอกคนต่อไปในผลงานใหม่[4] (หมายเหตุเรื่องแรงบันดาลใจโรมิโอกับจูเลียต อ้างอิงมาจาก Translated Interview | Jun Mochizuki | Author of Vanitas No Carte ในยูทูป ที่แปลโดยคุณวินนี่)

การแคสติ้งนักพากย์

ในการดัดแปลงเวอร์ชั่นอนิเมะนั้น วานิทัสได้ให้เสียงภาษาญี่ปุ่นโดยนัตสึกิ ฮานาเอะผู้พากย์ซีรีย์ที่โด่งดังมากมายอย่างตัวละคร "ทันจิโร่" จาก ดาบพิฆาตอสูร ชินเป อาจิโร่ ผู้ให้เสียงชาวเกาะจาก Summer Time Rendering และอิชิคาวะ ไคโตะนักพากย์ของโนเอ้เคยบอกว่าความสัมพันธ์ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ส่วนฮานาเอะพยายามใช้ประโยชน์เต็มที่จากส่วนที่เท่กับไม่เท่ แล้วความเซ็กซี่เพื่อดึงเสน่ห์ของวานิทัสออกมา สาเหตุที่ฮานาเอะได้บทบาทของวานิทัสเป็นเพราะความมากประสบการ์ณในฐานะเซย์ยูเคยรับบทบาทการพากย์มากมายและเสน่ห์ทางเพศที่เขาพยามถ่ายทอดให้กับตัวละครนี้ ซึ่งฉากแรงดึงดูดทางเพศนั้นถูกเน้นย้ำตอนที่โนเอ้ดื่มเลือดของโดมินิก และฌานใช้ประโยชน์วานิทัสด้วยการกินเลือดของเขา แม้ว่าตัวละครจะสวมเสื้อผ้าอยู่ก็ตาม[5] ตอนที่ฮานาเอะเห็นวานิทัสครั้งแรก เขาคิดว่าเป็นตัวละครแนวขี้เล่น แต่เมื่อเขาได้แสดงบทบาทด้วยแนวคิดศึกษาพฤติกรรมของวานิทัส จึงพบว่ามันมีบทที่บริสุทธิ์และน่ารักมากมาย เป็นตัวละครที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความโศกเศร้าและโอบอ้อมอารี นักพากย์จึงตั้งใจเผชิญหน้ากับบทบาทหารพากย์เพื่อถ่ายทอดตัวละครของเขาให้เข้าถึงอารมณ์มากที่ทำได้ นักพากย์ตั้งข้อสังเกตว่าวานิทัสเป็นตัวละครที่ไม่ธรรมดาเมื่อพิจารณาจากลักษณะพฤติกรรมของเขา ผู้กำกับ "โทโทยูกิ อิตามูระ" เคยบอกว่าวานิทัสไม่ใช่ตัวร้าย[6]

โมจิซูกิยังเคยบอกอีกว่าฮานาเอะถ่ายถอดความเกลียดซังของวานิทัสในฐานะตัวละครได้ดี แต่ก็มีความสมวัยเหมาะกับตัวของเขา

แหล่งที่มา

WikiPedia: วานิทัส (บันทึกแวมไพร์วานิทัส) http://lesilluminati.com/2017/08/15/interview-jun-... http://lesilluminati.com/ https://www.animefeminist.com/the-case-study-of-va... https://www.animefeminist.com/ https://www.animefeminist.com/2021-summer-three-ep... https://www.animefeminist.com/anime-feminist-recom... https://www.animenewsnetwork.com/encyclopedia/peop... https://www.animenewsnetwork.com/news/2021-10-28/t... https://www.animenewsnetwork.com/ https://www.animenewsnetwork.com/review/the-case-s...